เรื่อง : Training online หลักสูตร “การเพิ่มค่า %OEE และลด Loss time ในกระบวนการผลิต”

สถานที่ : online Training
วันที่อบรม จำนวนวัน ราคา

หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล

  ค่า OEE เป็นดัชนีตัวหนึ่งที่ใช้วัดความสำเร็จของ TPM ในภาพรวม โดยพิจารณาที่ผลลัพธ์เป็นสำคัญ กล่าวคือ การพิจารณาที่ การใช้ประโยชน์จากเครื่องจักร การใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบและการท างานได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยให้หาค่า %A (Available time) หรือเวลาการท างานของเครื่องจักรจริงเทียบกับเวลาการท างานของเครื่องจักรตามแผน และ ค่า %P (Performance Rate) หรือ ประสิทธิภาพการเดินเครื่องจักร รวมถึงค่า %Q (Good Quality Rate) ซึ่งก็คือ อัตราการคุณภาพการผลิตสินค้าดีทั้งหมด

  การเพิ่มค่า Overall Equipment Effectiveness หรือ OEE นั้นเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของ เครื่องจักรแต่ละตัวได้อย่างชัดเจนด้วยการวิเคราะห์จากข้อมูลการผลิตที่บันทึกได้ โดยต้องบันทึกค่าทุกวัน ทุกเครื่อง เพื่อบำรุงรักษา เครื่องจักรก่อนที่จะเกิด Downtime ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลง รวมถึงค่าบำรุงรักษาเครื่องจักรก็สูงขึ้นได้

  ค่า OEE นั้นค่าที่สูงจะดีกว่าค่าที่ต่ำ ซึ่งระดับของค่าดังกล่าวนั้นขึ้นอยู่กับเป้าหมายของแต่ละองค์กรที่จะเป็นผู้กำหนดตาม ความเหมาะสม และต้องพยายามไม่ให้ค่า OEE ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดซึ่งจะหมายถึงการเกิดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตหรือ ที่เรียกว่า Loss time นั่นเอง

   Loss time หรือ “เวลาความสูญเปล่าในการผลิต” ซึ่งก็คือเวลาที่สูญเสียไปในระหว่างการผลิตในเรื่องของการทำงานผิด ขั้นตอน เป็นเวลาที่ไม่สร้างคุณค่า (Non-value time) มักเกิดขึ้นบ่อย ๆ และแฝงตัวอยู่ในเกือบทุกขั้นตอนการผลิตและอาจจะไม่ สามารถตรวจวัดในขณะผลิตได้อย่างชัดเจน ดังนั้นเราควรทำกิจกรรมที่เรียกกันว่า “กิจกรรมการลด Loss time การผลิต” ซึ่งจะทำให้ สามารถผลิตชิ้นงานได้เพิ่มขึ้นตามเป้าหมายที่กำหนดได้ในสูตรการผลิต และในอนาคตกิจกรรมเพื่อลด Loss time นี้ ซึ่งจะส่งผลให้ เวลาการผลิตที่ใช้ลดลง และจำนวนชิ้นงานก็จะเพิ่มขึ้นตามความต้องการของลูกค้าได้อย่างเหมาะสม

  การเพิ่มค่า %OEE และการลดค่า Loss time เป็นส่วนหนึ่งของหลักการวัดประสิทธิภาพเครื่องจักรโดยรวม (Overall Equipment Effectiveness) ดังนั้นหากโรงงานมีการวัดค่า OEE อย่างสม่ำเสมอก็จะทำให้ประสิทธิภาพเครื่องจักรไม่ลดลง หรืออาจ ทำให้สูงขึ้นได้อีกด้วย ซึ่งก็จะสามารถใช้งานเครื่องจักรได้เต็มประสิทธิภาพ ค่าใช้จ่ายในการผลิตก็ลดลงตามมานั่นเอง

วัตถุประสงค์

1. ลดการสูญเสียในการทำงานของเครื่องจักร (Big Loss)   2. เพิ่มผลผลิตได้ตามเป้าหมายที่กำหนด

3. เพิ่มประสิทธิภาพในการบำรุงรักษาเครื่องจักรให้มากขึ้น   4. ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเครื่องจักร

5. ลดระยะเวลาการ Downtime ของเครื่องจักรลงอย่างได้ผล           6. ลดความแปรปรวนของกำลังการผลิตในแต่ละวัน

7. ลดของเสียที่เกิดขึ้นระหว่างการผลิต

8. สร้างความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ (Change Over) เพื่อผลิตสินค้าได้อย่างหลากหลาย

 

เนื้อหาของหลักสูตร :

Œความหมายของค่า OEE และ Loss time ของเครื่องจักร

การแบ่งประเภทของค่า OEE และ Loss time

Žวิธีการเลือกเครื่องจักรในการวัดค่า OEE และ Loss time

ขั้นตอนและวิธีการบันทึกค่า OEE และ Loss time การผลิต

สูตรการคำนวณค่า OEE และ Loss time

‘วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากค่า OEE และ Loss time

’การค้นหาสาเหตุและการแก้ไขค่า OEE และ Loss time

“กรณีศึกษาโรงงานที่ประสบความสำเร็จในการจัดการค่า OEE และ Loss time

วิธีการสัมมนา : การบรรยาย การฝึกปฏิบัติ และร่วมอภิปราย

อัตราค่าลงทะเบียน

วิทยากร : อาจารย์อนันต์ ดีโรจนวงศ์

สาขาความเชี่ยวชาญ:

- การวางแผนและควบคุมการผลิต (Production Planningand Control)

- เพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตด้วย Lean Manufacturing

- การจัดการด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน (Logistics & Supply Chain Management), Warehouse Management, การจัดการด้านขนส่ง, การบริหารจัดการคลังสินค้าและควบคุมสินค้าคงคลัง, ระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลระบบ ERP (Enterprise Resource Planning), การจัดการฐานข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล Online, การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี IoT (Internet of Things)

สำหรับงานอุตสาหกรรม

 

ตำแหน่งและหน่วยงานปัจจุบัน:

- ที่ปรึกษา สมาพันธ์สมาคมอุตสาหกรรมสนับสนุน 2557 – ปัจจุบัน

- ที่ปรึกษาเครือข่ายอุตสาหกรรม Lean Production สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น   

- ที่ปรึกษาอิสระ ด้าน Lean Manufacturing & Logistics Management

- อาจารย์พิเศษภาควิชาบริหารธุรกิจ สาขา การจัดการ Logistics สถาบันเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น (TNI) 2556-ปัจจุบัน

- อาจารย์พิเศษภาควิชาบริหารธุรกิจ สาขา การจัดการ Logistics ม.ศรีปทุม 2553- ปัจจุบัน

- อาจารย์พิเศษภาควิชาบริหารธุรกิจ สาขา การตลาด ระดับปริญญาโท วิชา การจัดการ Logistics ม.รามคำแหง 2552-2553

- วิทยากรบรรยายหัวข้อ Lean Production & Manufacturing ม.ธุรกิจบัณฑิต 2552-ปัจจุบัน

 

วุฒิการศึกษา:

ปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร 2531

ประกาศนียบัตรชั้นสูงทางสถิติประยุกต์ นิด้า สถิติประยุกต์ 2536

ปริญญาโท บริหารธุรกิจ การจัดการโลจิสติกส์ ม.รามคำแหง 2550

 

 

ประวัติการทำงาน

- บริษัท  CEVA Logistics  Co., Ltd จำกัด ระยะเวลา Oct 2010-Mar 2011 ตำแหน่ง IT Area Manager

- บริษัท IDS Logistics Co., Ltd. จำกัด ระยะเวลา Mar 2010- May 2010 ตำแหน่ง IT Manager

- บริษัท  Advance Info Services (AIS) จำกัด ระยะเวลา Aug 2002-Feb 2007 ตำแหน่ง Application Manager 

- บริษัท Seven-Eleven. จำกัด ระยะเวลา May 1995-Apr 2001 ตำแหน่ง MIS Deputy Manager

- บริษัท  บ.Thaisoft จำกัด จำกัด ระยะเวลา May 1994-Apr 1995 ตำแหน่ง Database Supervisor

- บริษัท Metro Machinery Co., Ltd ระยะเวลา Aug 1998-Apr 1989 ตำแหน่ง RPG Programmer

 

การขึ้นทะเบียนที่ปรึกษา: SP54S23

จำนวนปีที่เป็นที่ปรึกษา:  11 ปี

Copyright 2015  บริษัท เพอเฟกท์ เทรนนิ่ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด  

16/54 ซอยบางขุนเทียน 16 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพ 10150

Perfect Training And Service Co.,Ltd.

สอบถามและสำรองที่นั่งได้ที่ โทร 02-0445895 ,

085-9386299

Webdesgin by Programmer Thai