เรื่อง : หลักสูตร "เจาะลึก..ประเด็นภาษีบุคลากรและสวัสดิการพนักงาน

สถานที่ : โรงแรมโกลด์ออร์คิด กรุงเทพ วิภาวดีรังสิต
วันที่อบรม จำนวนวัน ราคา

หลักการและเหตุผล

หลักสูตร 1 วัน เนื้อหาเวลา 09.00-16.00 น.

รูปแบบการบริหารงานบุคคลกับสวัสดิการแรงงาน

การจัดสวัสดิการภายในองค์กร : สวัสดิการด้านสุขภาพ ความปลอดภัย ความมั่นคง

วันหยุด การศึกษา เศรษฐกิจ นันทนาการ การให้คำปรึกษา การจัดโบนัสและสวัสดิการ ฯลฯ

เจาะลึก ประเด็นภาษีบุคลากรและสวัสดิการ

1. ความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิประโยชน์ของบุคลากรและพนักงาน (ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา) ฿ รายจ่ายของกิจการ(ภาษีเงินได้นิติบุคคล) ภาษีซื้อที่จ่ายเนื่องจากการจัดสวัสดิการ (ภาษีมูลค่าเพิ่ม)

2. ประโยชน์เพิ่ม..คืออะไร เป็นเงินได้พึงประเมินหรือไม่ ต้องรวมคำนวณกับเงินเดือนหรือไม่? คำนวณประโยชน์เพิ่มอย่างไร?

3. คลี่คลายประเด็น กับภาษีที่เกี่ยวข้อง เช่น ให้พนักงานอยู่บ้านโดยไม่เสียค่าเช่า / ให้พนักงานได้ใช้น้ำประปาและไฟฟ้าของนายจ้าง / จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตให้พนักงานและกรรมการ / จัดอาหารให้พนักงานระหว่างเวลาทำงาน/ จัดซื้อ Notebook และโทรศัพท์มือถือ I Phone ให้พนักงานและกรรมการ / จ่ายเงินช่วยการศึกษาบุตรพนักงาน /จัดท่องเที่ยวทัศนาจรให้พนักงาน / ให้พนักงานและกรรมการไปดูงานต่างประเทศ/ มอบเงินรางวัลตอบแทนพนักงานที่ทำงานครบตามกำหนด / มอบของขวัญวันเกิดให้พนักงาน / มอบเงินช่วยงานศพช่วยงานสมรส/ จัดให้มีศูนย์เลี้ยงเด็กเลี้ยงดูบุตรของพนักงาน / จัดการศึกษานอกเวลาให้พนักงาน/ จัดสวัสดิการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อซื้อรถยนต์/ เงินทดแทนเงินชดเชยที่พนักงานได้รับตามกฎหมายแรงงาน / เงินหรือผลประโยชน์ที่พนักงานได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ/ค่าเดินทาง /ค่ารักษาพยาบาล/ ค่าเครื่องแบบพนักงาน/ แจกหุ้นขายหุ้นให้พนักงาน/ให้พนักงานหรือกรรมการเป็นสมาชิกสนามกลอฬ Sport Club และ Member club / ให้ทุนพนักงานเรียนต่อในประเทศ หรือต่างประเทศ /มอบของขวัญปีใหม่ให้พนักงาน/ มอบโล่ประกาศเกียรติคุณให้พนักงาน / เบี้ยขยันตอบแทนการทำงาน/เงินรางวัลในการปรับปรุงการทำงาน/ ทำบุญปีใหม่ประจำปี/จัดรถรับส่งพนักงาน/ จัดรถยนต์ประจำตำแหน่ง /ค่าจ้างเหมาพนักงานขับรถยนต์ผู้บริหาร /ตั้งกองทุนให้พนักงานกู้ยืมซื้อรถยนต์โดยไม่คิดดอกเบี้ย หรือดอกเบี้ยต่ำ /ขายสินค้าต่ำกว่าทุนให้พนักงาน/ ค่าน้ำมัน ค่าทางด่วน สำหรับรถยนต์ของพนักงานที่นำมาใช้ในการปฏิบัติงาน และอื่น ๆ อีกมากมาย

4. นายจ้างจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร? ถึงจะถูกต้องไม่มีภาระทั้งนายจ้างและพนักงาน

- จ่ายเท่ากันทุกเดือน ดูเหมือนง่าย แต่จริงหรือ  - ไม่รู้ว่าจะต้องจ่ายอีกเท่าไร และไม่รู้ว่าจะต้องจ่ายอีกเมือไรแล้วจะหักกันอย่างไร

- จ่ายค่าล่วงเวลา ปรับเงินเดือน จ่ายโบนัส ต้องหักเพิ่มในเดือนไหน แล้วคำนวณอย่างไร

- นายจ้างหักเกิน หรือไม่ต้องหักแต่ถุกหัก แล้วพนักงานจะทำอย่างไร แล้วใครเป็นคนขอคืน

5. ค่าลดหย่อน คืออะไร ลูกจ้าง (เจ้าของสิทธิ์) และนายจ้าง (ผู้มีหน้าที่หักภาษี) เข้าใจดีแล้วหรือยัง

- บุตรเธอ บุตรฉัน บุตรเรา แล่วไหนจะบุตรบุญธรรม ดูวุ่นวาย แต่ไม่ว้าวุ้นถ้าเข้าใจ

- ประกันชีวิตไม่พอต้องเพิ่มประกันชีวิตแบบบำนาญด้วย ถึงจะเจ่ง  - ประกันสุขภาพ ซื้ออย่างไร ซื้อให้ใคร หักได้ หักไม่ได้

- กู้กับใคร? กู้อย่างไร? ถึงจะหักดอกเบี้ยเงินกุ้ยืมได้         - บริจาคอย่างไร? นอกจากได้บุญ แล้วยังได้ชื่อว่า"ฉลาด"

- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนประกันสังคม RMF , LTF มากมายหลายกอง

- เลี้ยงดูบิดามารดา "กตัญญู" ที่ไม่เคยเสียเปล่า“       - ผู้พิการ "ผู้ทุพพลภาพ" หนึ่งในหัวใจในการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในสังคม

หัวข้อการอบรม(ต่อ) 

6. เจาะลึก เคล็ด (ไม่)ลับ..คำนวณเงินได้เพราะเหตุออกจากงาน

- เงินได้เพราะเหตุออกจากงาน มีกี่ประเภท แบ่งกันอย่างไร   -ได้รับเงินก้อนจากนายจ้าง แต่จ่ายปีถัดจากปีที่ออกจากงานจะต้องหรือควรต้องเสียภาษีอย่างไร                                               - ควรจะแยกคำนวณหรือจะรวมคำนวณ จะรู้ได้อย่างไร

- ผลประโยชน์จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และเงินชดเชยต้องเสียภาษีหรือไม่ ถ้ายกเว้นจะยกเว้นได้เท่าไร

** Update ภาษีใหม่ที่น่าสนใจ กับหลักเกณฑ์ง่ายๆ ที่น่าติดตาม (พรก.18/ม.57ฉ)

- ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินปันผลที่ได้จากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure fund : Infrafund) และหลักเกณฑ์การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป็ สำหรับการโอนทรัพย์สินของ Infra Fund (พรฎ 544 และประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การยกเว้นภาษีเงินได้จากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure fund) ลว. 7 มี.ค 2556)

- ลดอัตราภาษีสำหรับเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ (พรฎ.566)

- การยกเว้นภาษีให้แก่ ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง (พรฎ.567)

- มาตรการยกเว้นภาษีให้แก่กลุ่มประชาชนที่รับจัดทำอาหารเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย ปี 2554 (พรฎ568)

- กำหนดข้อความในใบเพิ่มหนี้/ ใบลดหนี้ ใบกำกับภาษี และรายงาน VAT (เลข 13 หลัก "สำนักงานใหญ่" หรือ "สาขาที่... ที่ซื้อหรือขายสินค้า (บังคับใช้ 1 มค. 2558) (ประกาศ VAT 194-197 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ VAT 199-202)

- ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าจำนวนเงินที่ได้รับจากรัฐบาล เพื่อนำไปใช้ในการป้องกันอุทกภัยกับวาตภัยอัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติ (พรก.570)

- ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะกรณีบริษัทในเครือเดียวกันให้กู้ยืมเงินกันเอง และยกเว้นภาษีธุรกิจ เฉพาะกรณีนำเงินกองทุนออกให้พนักงานที่เป็นสมาชิกกู้ยืม (พรฎ.571)

- ลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากอัตราสูงสุดจาก 37% เหลือ 35% (พรฎ.575๗)

ทุกท่านถาม อาจารย์ตอบคำถามที่ค้างคาใจ ทุกปัญหา

อัตราค่าลงทะเบียน

วิทยากร :

Copyright 2015  บริษัท เพอเฟกท์ เทรนนิ่ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด  

16/54 ซอยบางขุนเทียน 16 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพ 10150

Perfect Training And Service Co.,Ltd.

สอบถามและสำรองที่นั่งได้ที่ โทร 02-0445895 ,

085-9386299

Webdesgin by Programmer Thai