เรื่อง : หลักสูตร ภาษีมรดก & ภาษีการให้รับแล้ว..กลับต้องจ่าย.. หรือไม่ อย่างไร?
สถานที่ : โรงแรมอมารีบูเลอวาร์ด สุขุมวิท 5
วันที่อบรม | จำนวนวัน | ราคา |
---|
หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล
ตามที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ประกอบกับการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเก็บภาษีจากการให้ทรัพย์สิน โดยมีผลใช้บังคับพร้อมกันเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 นั้น ส่งผลให้การรับมรดกและการให้ทรัพย์สินในบางกรณีอยู่ในบังคับที่จะต้องเสียภาษีให้กับรัฐ และโดยที่ภาษีการรับมรดกได้มีการประกาศใช้โดยออกเป็นพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 แยกต่างหากจากการจัดเก็บภาษีประเภทต่างๆ ตามประมวลรัษฎากร และได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ ตลอดจนกำหนดเวลา อายุความ อำนาจเจ้าพนักงาน วิธีการเสียภาษี การอุทธรณ์การประเมิน การผ่อนชำระบทกำหนดโทษไว้เป็นการเฉพาะ การทำความเข้าใจกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง อันจะส่งผลให้มีการวางแผนเพื่อเสียภาษี และการชำระภาษีเป็นอย่างอย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป
เนื้อหาหลักสูตรเวลา 09:00-16:00 น.
1.ข้อสรุป “มรดก” ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
- “มรดก” เกิดขึ้นเมื่อใด - การเข้ารับมรดก
- ทรัพย์สินที่ถือเป็นมรดก - บุคคลที่มีสิทธิรับมรดก
2. “ภาษีการรับมรดก” ตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558
- เปรียบเทียบภาระภาษีก่อนและหลังบังคับใช้ภาษีการรับมรดก
- บุคคลประเภทใดบ้าง ที่ถูกกำหนดให้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดก
- บุคคล & ทรัพย์สินมรดก ที่ได้รับยกเว้นภาษีการรับมรดก
- มูลค่ามรดกที่อยู่ในเกณฑ์ต้องเสียภาษี
- ประเภทของทรัพย์สินที่ต้องนำมาเสียภาษี และไม่ต้องนำมาเสียภาษีการรับมรดก
- ทรัพย์สินที่อยู่นอกประเทศไทยจะต้องนำมาเสียภาษีการรับมรดกหรือไม่อย่างไร
- วิธีการคำนวณมูลค่าทรัพย์สินในการเสียภาษีการรับมรดก
- อัตราภาษี @ วิธีการคำนวณภาษีการรับมรดก
- กำหนดเวลาในการยื่นแบบและชำระภาษ & แบบแสดงรายการที่ใช้ในการชำระภาษีการรับมรดก
- การเสียภาษี กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีถึงแก่ความตายก่อนเสียภาษีการรับมรดก
- หลักเกณฑ์และวิธีการผ่อนชำระภาษีการรับมรดก
- หลักเกณฑ์วิธีการ & กำหนดเวลาในการขอคืนภาษีการรับมรดก กรณีเสียภาษีไว้เกิน หรือเสียภาษีโดย
ไม่มีหน้าที่ต้องเสีย
- หลักเกณฑ์วิธีการ & กำหนดเวลาในการอุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงาน กรณีถูกเจ้าพนักงา
ประเมินเรียกเก็บภาษีการรับมรดก
- สรุปกำหนดเวลา & อายุความ ตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 กรณีต่างๆ
- อำนาจของเจ้าพนักงาน เช่น ออกหมายเรียก ประเมินภาษี ยึดอายัดทรัพย์สิน ฯลฯ
- บทกำหนดโทษตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 เช่น กรณีไม่ยื่นแบบ ขัดหมายเรียกหลีกเลี่ยง &
พยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษี การแนะนำ & สนับสนุนให้มีการหลีกเลี่ยงการเสียภาษี ฯลฯ
- Tax Planning ภาษีการรับมรดก
3. “ภาษีการให้”
- “ผู้ให้” กับ “ผู้รับ” ใครคือผู้มีหน้าที่เสียภาษี
- ทรัพย์สินประเภทใดบ้างที่อยู่ในเกณฑ์ต้องเสียภาษภาษีจากการให้
- การให้โดยเสน่หาเนื่องพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี & การให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา
พิจารณาจากองค์ประกอบใด
- การให้ที่อยู่ในเกณฑ์ต้องเสียภาษี & การให้ที่ได้รับยกเว้นภาษี/ไม่ต้องเสียภาษี
- อัตราภาษีที่ต้องเสียจากการให้ & การยื่นแบบเสียภาษีจากการให้
- การให้ทรัพย์สินกรณีใดที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
- Tax Planning ภาษีการให้
ตามที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ประกอบกับการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเก็บภาษีจากการให้ทรัพย์สิน โดยมีผลใช้บังคับพร้อมกันเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 นั้น ส่งผลให้การรับมรดกและการให้ทรัพย์สินในบางกรณีอยู่ในบังคับที่จะต้องเสียภาษีให้กับรัฐ และโดยที่ภาษีการรับมรดกได้มีการประกาศใช้โดยออกเป็นพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 แยกต่างหากจากการจัดเก็บภาษีประเภทต่างๆ ตามประมวลรัษฎากร และได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ ตลอดจนกำหนดเวลา อายุความ อำนาจเจ้าพนักงาน วิธีการเสียภาษี การอุทธรณ์การประเมิน การผ่อนชำระบทกำหนดโทษไว้เป็นการเฉพาะ การทำความเข้าใจกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง อันจะส่งผลให้มีการวางแผนเพื่อเสียภาษี และการชำระภาษีเป็นอย่างอย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป
อัตราค่าลงทะเบียน
วิทยากร : อาจารย์ ศุภชัย บำรุงศรี
ตำแหน่งปัจจุบัน
นิติกรชำนาญการ สำนักกฎหมาย กรมสรรพากร
การศึกษา
- นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- นิติศาสตร์มหาบัณฑิต (สาขากฎหมายธุรกิจ) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
Copyright 2015 บริษัท เพอเฟกท์ เทรนนิ่ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด
16/54 ซอยบางขุนเทียน 16 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพ 10150
Perfect Training And Service Co.,Ltd.
สอบถามและสำรองที่นั่งได้ที่ โทร 02-0445895 ,
085-9386299
Webdesgin by Programmer Thai